Friday, July 2, 2010

GED คืออะไร มันดีอย่างไร?

น้องๆ หลายคนอาจจะมีคำถามว่า GED มันดีอย่างไร เห็นเพื่อนๆไปสอบกัน หรือไม่ก็เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนกลับมาต่อไทยแล้วมีปัญหาเรื่องเรียนต่อที่โรงเรียน ไม่อยากซ้ำชั้น

วันนี้ก็มีเกร็ดมาให้ครับ พอดีว่าพี่เคยสอบกันเหนียวไว้ ก่อนที่จะไปแลกเปลี่ยนที่ญี่ปุ่น สำหรับความเห็นเรื่องข้อสอบน่ะครับ ไม่ยากครับ ง่ายๆ ชิวๆครับ

ดูรายละเอียดหนังสือได้ที่นี่น่ะครับ


GED คืออะไร GED คือ General Educational Development เป็นการสอบที่เทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาระดับมัธยมปลายในประเทศไทย ตามหลักสูตรการศึกษาของสหรัฐอเมริกา นักเรียนผู้เข้ารับการสอบต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป แต่จะได้รับประกาศนียบัตรเพื่อนำไปเทียบผลสอบได้ต่อเมื่อมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์

นักเรียนสามารถนำผลสอบที่ผ่านแล้วไปเทียบวุฒิ ม.6 จาก กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งวุฒินี้สามารถเก็บไว้ได้ตลอดไป ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศ (ระบบอินเตอร์ฯ) และต่างประเทศได้ (คณะอินเตอร์หลายที่รับรองน่ะครับ แต่ยังต้องใช้คะแนนในส่วนอื่นเช่น SAT ประกอบด้วย

ลักษณะข้อสอบ

GED เป็นข้อสอบแบบปรนัย (Multiple Choices) มีด้วยกันทั้งหมด 5 วิชา คือ

Mathematics
Social Studies
Science
Language Arts; Reading
Language Arts; Writing Part I
โดยทุกวิชาทำการสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ยังมีในส่วนของข้อสอบ Language Arts, Writing Part II ซึ่งเป็นการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ ผู้สอบจะต้องทำข้อสอบโดยการพิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์

การสอบGED นั้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมทั้งหมด 5 วิชา ไม่ต่ำกว่า 2250 คะแนน โดยที่แต่ละวิชาต้องได้ไม่ต่ำกว่า 410 คะแนน ถึงจะถือว่าสอบผ่าน และสามารถนำไปเทียบวุฒิ ม. 6 ได้

หากผู้สอบมีคะแนนไม่ถึง จะถือว่าสอบไม่ฝ่าน และสามารถทำการสอบซ้ำได้ในวิชานั้นๆ โดยจะต้องมีช่วงระยะเวลาห่างจากการสอบในวิชานั้นๆครั้งล่าสุดไม่น้อยกว่า 90 วัน (อันนี้แนะนำว่าเตรียมตัวไปให้ดีครับ ค่าสอบแพง แถมถ้าเรารีบต้องการวุฒิแล้วสอบไม่ผ่าน รอ 3 เดือนเลยน่ะจ๊ะ)

การสมัครสอบ

การสมัครสอบ GED สามารถสมัครผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่ www.prometric.com/GED โดยที่จะมีการจัดสอบเป็นประจำทุกเดือน สัปดาห์ละ 2-3 วัน ซึ่งผู้สอบสามารถตรวจสอบวัน และเวลาสอบล่วงหน้าได้จากเว็บไซต์ข้างต้น

ศูนย์สอบในประเทศไทย:

Institute of International Education ชั้น 6 อาคารมณียาเซ็นเตอร์ (เหนือ) ถนน เพลินจิต กรุงเทพมหานคร (BTS สถานีชิดลม)

ค่าสมัครสอบ
ค่าสมัครสอบแบบเดี่ยวเป็นรายวิชา

Writing + Grammar skills $139
Social Studies $113
Science $113
Reading $113
Mathematics $113
ค่าสมัครสอบแบบเป็นชุด (Linked Packages)

ส่วนที่ 1 (Writing & Reading) $180
ส่วนที่ 2 (Social Studies, Science & Mathematics) $231
credit: http://www.edutraingroup.com/modules/content/index.php?id=14

สนใจเรียน หรือมีข้อสอบถามติดต่อพี่ทอมได้เลยครับ
Mobile:0818386696
Mail:tom88jerry@hotmail.com

Wednesday, January 20, 2010

เทคนิคการสอบสัมภาษณ์พิชิตทุน


ทคนิคการสอบสัมภาษณ์พิชิตทุนที่ทำให้คุณรู้สึกการสอบสัมภาษณ์เป็นเรื่อง “ปลอกกล้วยเข้าปาก”


วันนี้ผมก็จะมาถ่ายทอดเทคนิคการสอบสัมภาษณ์ที่จะทำให้คุณรู้สึกการสอบสัมภาษณ์เป็นเรื่องชิวๆ หุหุ
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์พิชิตทุน

ถ้าใครกำลังมองหาทุนอยู่ ก็ไม่ควรพลาดครับ การสอบสัมภาษณ์พิชิตทุน ผมเคยอ่านเจอจากหนังสือของฝรั่ง เค้าบอกว่า การสัมภาษณ์พิชิตทุนคือ talent show ไม่ใช่ interview งงหล่ะซิว่าทำไมเป็น talent show เพราะเค้าจะเน้นหนักไปทางด้านความสามารถของคุณ ในเมื่อเค้าต้องเสียเงินให้ทุนคุณ เค้าคุ้มค่าเพียงใด เอาหล่ะ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า จากประสบการณ์ที่ผมได้ไล่ล่าหาทุนศึกษาต่อต่างประเทศมาหลายทุน จนผู้จัดการ Mainichi ให้ฉายาผมว่า นักไล่ล่าทุน เหอๆ และนี่คือหลักสำคัญที่คุณจะต้องปฏิบัติ
1. ทำการบ้าน บางคนคงสงสัยว่า ทำการบ้านอะไร? สิ่งที่จะต้องทำคือ
-เข้าใจวัตถุประสงค์ของทุน ตัวอย่างน่ะครับ ทุนวิจัย ความหมายก็ชัดเจนในชื่อทุนอยู่แล้ว วิจัย เราก็ค้นคว้าหาความรู้เลยครับ วิจัยมีความหมายว่าอะไร หัวข้อวิจัยที่น่าสนใจ เราจะทำวิจัยเกี่ยวกับอะไรดี ข้อมูลของหัวข้อที่เราจะทำ เป็นต้น
-ศึกษาข้อมูลของผู้ให้ทุนด้วย ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง โครงการนี้มีที่มาอย่างไร ใครก่อตั้ง เป็นต้น
-หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทุนบ้าง เช่นเราจะสมัครทุนนักเรียนแลกเปลี่ยนอเมริกา สิ่งที่จะต้องทำคือ หาข้อมูลเกี่ยวกับอเมริกา ให้เจ้าของโครงการรู้ว่าเราสนใจจริงๆ เวลาเค้าถามมาจะได้ตอบได้ ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าเรามีความสนใจในตัวทุนของเค้า
-ค้นหาจุดอ่อนของคุณ เพราะช่องทางนี้จะเป็นช่องโหว่ให้ผู้สัมภาษณ์ยิงคำถามใส่คุณ แล้วคุณจะอึ้งครับ เพราะฉะนั้น พยายามแก้ไข และเลี่ยงที่จะตอบคำถามอันก่อให้เกิดช่องโหว่ของตัวเอง เช่นถ้าเค้าบอกคุณมีความสามารถอะไรบ้าง คุณบอกว่า พูดได้หลายภาษา อะไรบ้าง ไหนลองพูดซิ แล้วคุณทำได้แบบนิดหน่อย พอเจอเค้าถามต่อ คุณพูดไม่ได้ ก็เลี่ยงที่จะพูดดีกว่าครับ
-สำหรับคนที่จะสอบทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน เตรียมการแสดงที่คุณคิดว่าจะเอาไปเผยแพร่ ให้คนต่างชาติได้รู้จัก ส่วนใหญ่ก็จะซ้ำๆกัน ลองหาอะไรที่แปลกใหม่ดูน่ะครับ จะเรียกคะแนนได้มากขึ้นครับ ยิ่งคนอื่นทำสามารถทำได้ คะแนนก็จะยิ่งน้อย เพราะมีข้อเปรียบเทียบครับ
2. เตรียมสภาพจิตใจให้พร้อม คนส่วนใหญ่จะตื่นเต้น แล้วก็ไม่หลับไม่นอน เป็นนกฮูกไปได้ คิดซะว่าการสอบสัมภาษณ์เป็นเพียงการพูดคุยกับผู้สัมภาษณ์
3. มารยาท สิ่งที่คุณชอบมองข้าม การสอบสัมภาษณ์ไม่ได้วัดแค่ความรู้ แต่เป็นการวัดทุกอย่าง คุณจะต้องมีมารยาท หลักมีไม่เยอะครับ แต่งการให้เรียบร้อย เข้าออกจากห้อง เปิดและปิดประตูอย่างเบาๆ ไม่ใช่ปิดกระแทกเมื่อรู้ว่าตัวเองตอบได้ไม่เอาไหนเลย รู้จักทำความเคารพผู้สัมภาษณ์ (ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์มีหลายท่าน ยกมือไหว้เฉพาะคนที่อยู่ตรงกลางก็พอแล้ว) ขออนุญาตก่อนที่จะทำอะไร เช่นนั่ง การนั่งก็ต้องไม่เอามือเท้าโต๊ะ นั่งให้สุภาพเรียบร้อย ไม่นั่งไขว้ห้าง เหมือนจิ๊กโก๋ เหอๆ พูดจาอย่างสุภาพ ไม่ใช่ใช้คำพูดสมัยสุโขทัย กุ มึง (ขออภัยที่พูดคำหยาบครับ) พูดตามความเป็นจริงด้วยน่ะครับ อย่าพูดโกหกไป ครูผมเคยเล่าว่า มีเด็กคนนึงเก่งมากๆ เขียนในใบสมัครตัวเองว่า พูดได้ 5-6 ภาษา รวมถึงภาษาเยอรมัน ทีนี้พอไปสอบสัมภาษณ์ก็ดูเหมือนทุกอย่างจะไปได้สวย พอจบการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ก็ได้พูดว่าดีมาก ภาษาเยรอมัน แต่คนนั้นกลับงง และอึ้ง ถามว่าอะไรน่ะ ทำให้เค้ารู้ว่าคนนี้โกหกมา ก็เลยตกสัมภาษณ์ไปในที่สุด
4. มั่นใจในตัวเอง อันนี้ผมว่าสำคัญที่สุด ผมมีความคิดมาโดยตลอด ถ้าไม่มั่นใจ แล้วจะทำไป ทำไม มั่นในตัวเองครับ ถ้าตัวเองไม่เชื่อว่าทำได้ แล้วใครจะไปเชื่อคุณ ครูผมที่แคนนาดา เคยบอกกับผมว่า คุณลองมองง่ายๆ ถ้าเกิดเค้าต้องการให้ทุนกับผู้ที่สามารถทำการวิจัยให้เค้า แต่คุณเองไม่มั่นใจว่างานวิจัยคุณจะสำเร็จ แล้วเค้าจะให้เงินคุณมาทำวิจัย เพื่ออะไร เพราะฉะนั้น จงมั่นใจในตัวเองครับ
คำถามที่คุณอาจจะเจอ อันนี้เท่าที่ผมเจอมาน่ะครับ ทำไมคุณถึงได้มาสมัคร, คุณคิดว่าคุณเหมาะสมกับทุนนี้หรือไม่ เพราะอะไร, อะไรที่คิดว่าคุณเด่นกว่าคนอื่น, จุดเด่น จุดด้อยของคน(อย่าตอบว่าไม่มีจุดด้อยน่ะครับ เพราะจะทำให้เค้าอิจฉาคุณ ล้อเล่นครับ เพราะเค้าจะคิดว่าคุณไม่รู้ตัวเอง ทุกคนย่อมมีจุดด้อยของตัวเอง มากหรือน้อยเท่านั้นเอง) อาจจะมีปัญหาเชาว์บ้าง(ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน) เช่น ถ้าคุณทำเงินหาย ไม่มีเงินกลับบ้าน คุณจะทำยังไง ฯลฯ คุณมีความคิดยังไงกับทุน, คุณรู้จักทุนนี้มากน้อยเพียงใด, เมื่อคุณได้รับทุนนี้ คุณจะทำอะไรบ้าง, ทุนนี้มีส่วนช่วยในอนาคตของคุณอย่างไร ก็คงประมาณนี้อ่าครับ ยังไงก็ลองถามตัวเองดูว่า เมื่อคุณเจอคำถามนี้ คุณจะตอบอย่างไร
*ปล.สำหรับคนที่จะสอบทุนของญี่ปุ่นจะค่อนข้างมีคำถามที่คุณคิดไม่ถึง แต่ก็ไม่ยากครับ ถ้าเตรียมตัวไปดี ลองมาฟังดูกันครับ ว่าเค้ามีคำถามที่แตกต่างยังไง คุณมีความคิดเห็นยังไง กับฉายาที่คนตั้งให้คนญี่ปุ่นว่า เป็นหุ่นยนต์ทำงาน ชีวิตมีแต่งาน, คุณอาจจะประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงที่อยู่บ่อยๆ คุณมีการปรับตัวอย่างไรบ้าง, คุณคิดว่าเพราะสาเหตุใดที่ทำให้ญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว, คุณจะแก้ปัญหากับภาษาญี่ปุ่นของคุณยังไร ในเมื่อคุณพูดได้แค่ภาษาไทยกับอังกฤษ โดยที่คุณมีความรู้เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย, มารบาทของคนญี่ปุ่นมีอยู่มากมาย เช่นก่อนรับประทานอาหารต้องพูดว่า いただきますคุณมีความคิดเห็นว่าอย่างไร ฯลฯ
และนี้ก็เป็นเทคนิคที่จะทำให้คุณสามารถพิชิตทุนต่างๆ ได้แบบผม ลองปฏิบัติตามดูน่ะครับ ไม่ยากอย่างที่คิดใช่มั๊ยครับ ถ้าคุณอยากได้ทุนน่ะครับ คุณจะต้องหมั่นหาทุนที่เข้ากับตัวคุณเองมากที่สุด ทุนมีอยู่หลายทุน ไม่ต้องกลัวว่าจะหมดครับ อยู่เพียงแต่ว่าคุณพยายามหาทุนแค่ไหน ไม่มีสิ่งไหนที่คุณทำไม่ได้ครับ ผมหวังว่าทุกคนคงได้ความรู้ไม่มากก็น้อยครับ อ้อเกือบลืม คุณสามารถที่จะไปประยุกต์ใช้ในการสอบสัมภาษณ์เรียนต่อก็ได้ครับ หลักก็คล้ายๆกัน ลาก่อนน่ะครับ แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้า